Innovative Robot

หุ่นยนต์นวัตกรรม

เป็นการประกวดการสร้างหุ่นยนต์สร้างสรรค์ในเชิงนวัตกรรมภายใต้หัวข้อ Robots@Home หรือหุ่นยนต์เพื่อที่อยู่อาศัย

หมวดที่ 1 รุ่น/ผู้แข่งขัน
ข้อที่ 1
1.1 ทีมหุ่นยนต์มีสมาชิก 1 ถึง 2 คน
1.2 การแข่งขันมี 3 รุ่นคือ

1.2.1 รุ่น Master สำหรับผู้แข่งขันอายุ 7 ถึง 10 ปี ต้องเกิดในปี พ.ศ. 2552 ถึง 2555
1.2.2 รุ่น Junior สำหรับผู้แข่งขันอายุ 11 ถึง 14 ปี ต้องเกิดในปี พ.ศ. 2548 ถึง 2551
1.2.3 รุ่น Senior สำหรับผู้แข่งขันอายุ 15 ปี ถึง 19 ปี ต้องเกิดในปี พ.ศ. 2543 ถึง 2547

1.3 ทีมอาจมีครู/อาจารย์ที่ปรึกษาได้ ไม่เกิน 1 คน (สามารถเป็นที่ปรึกษาพร้อมกันหลายทีมได้)
1.4 ผู้แข่งขันส่งหุ่นยนต์เข้าประกวดได้ทีมละกี่ตัวก็ได้ แต่จะรวมกันเป็นหนึ่งผลงาน1

หมวดที่ 2 รูปแบบของหุ่นยนต์
ข้อที่ 2 ขนาดและจำนวนของหุ่นยนต์
2.1 ไม่จำกัดจำนวนของหุ่นยนต์ที่เข้าประกวด แต่กรรมการจะพิจารณารวมเป็น 1 ผลงานต่อทีม
2.2 หุ่นยนต์แต่ละตัวมีขนาดเท่าใดก็ได้

ข้อที่ 3 วัสดุอุปกรณ์
3.1 กำหนดให้ใช้บอร์ดควบคุมที่ผลิตและจำหน่ายภายใต้ยี่ห้อ INEX ได้ทุกรุ่น
3.2 กรณีใช้ micro:bit ต้องใช้งานร่วมกับบอร์ด iBIT ได้ทุกรุ่น หรือ AX-microBIT ทุกรุ่น หรือ Play:BIT หรือ Project:BIT ที่ผลิตโดย INEX
3.3 จากข้อ 3.2 หากไม่ใช้บอร์ดต่อขยายของ INEX อนุญาตให้ใช้สายปากคีบ, เบรดบอร์ด, แผ่นวงจรพิมพ์อเนกประสงค์ และวัสดุเชื่อมต่อทางไฟฟ้าใดใดที่ไม่ใช่แผงวงจรขยายของผู้ผลิตรายอื่น
3.4 จะใช้แผงวงจรจากข้อ 3.1 ถึง 3.3 แบบใดแบบหนึ่งหรือหลายแบบทำงานร่วมกันได้
3.5 ไม่จำกัดจำนวนแผงวงจรควบคุมจากข้อ 3.1
3.6 ใช้มอเตอร์ไฟตรงแบบใดก็ได้ ไม่จำกัดจำนวน
3.7 ไม่จำกัดจำนวนหรือชนิดของตัวตรวจจับ
3.8 ไม่จำกัดแหล่งจ่ายพลังงาน แต่ผู้สร้างต้องคำนึงถึงข้อจำกัดในการทนกำลังไฟฟ้าได้ของแผงวงจรควบคุมและตัวตรวจจับ
3.9 ไม่จำกัดชนิดของอุปกรณ์ต่อพ่วง แต่ต้องไม่ทำงานเป็นตัวควบคุมหลัก
3.10 ไม่จำกัดชนิดและจำนวนของวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ใช้ไฟฟ้า เพื่อใช้ในการตกแต่งหุ่นยนต์
3.11 ผู้แข่งขันสามารถใช้ชิ้นส่วนจากโมเดลพลาสติก ของเล่น ที่ไม่ใช่อุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้ามาประกอบในการตกแต่งหรือสร้างโครงสร้างของหุ่นยนต์ได้อย่างไม่จำกัด
3.12 ผู้แข่งขันต้องเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือในการสร้าง ตกแต่ง แก้ไข ดัดแปลงหุ่นยนต์สำหรับการประกวดมาเอง (อนุญาตเฉพาะเครื่องมือเบาเท่านั้น เช่นหัวแร้ง คีม ไขควง สว่านมือขนาดเล็กที่ใช้แบตเตอรี่ คัตเตอร์ กรรไกร)

ข้อที่ 4 การสร้างหุ่นยนต์
4.1 ผู้แข่งขันสามารถสร้างหุ่นยนต์มาล่วงหน้าได้
4.2 หุ่นยนต์ที่แข่งขันสามารถทำงานได้ทั้งแบบอัตโนมัติ หรือแบบบังคับมือ หรือผสมกันก็ได้
4.3 ผู้แข่งขันสามารถมาสร้างหุ่นยนต์ในพื้นที่ที่ฝ่ายจัดการแข่งขันเตรียมไว้ให้ได้ แต่มีพื้นที่อย่างจำกัด ใครมาก่อนได้ก่อน และไม่อาจรับรองเรื่องความสะดวกสบายในการทำงาน
4.4 อนุญาตให้ติดเครื่องหมายของผู้สนับสนุนได้ แต่ต้องไม่ใช่สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์, การเมือง และศาสนา
4.5 หุ่นยนต์ต้องแสดงการทำงานที่สอดคล้องกับหัวข้อของการแข่งขัน
4.6 ควรสร้างหุ่นยนต์ด้วยความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการในเชิงบวก

ข้อที่ 5 ความสามารถขั้นต้นของหุ่นยนต์
5.1 หุ่นยนต์ที่เข้าประกวดต้องสามารถทำงาน เคลื่อนที่ได้อย่างไม่ติดขัด โดยไม่จำกัดรูปแบบในการเคลื่อนที่
5.2 หุ่นยนต์ที่เข้าประกวดควรทำงานได้ตลอดระยะเวลาที่นำเสนอต่อคณะกรรมการ (ประมาณ 10 นาที)

หมวดที่ 3 การแข่งขัน
ข้อที่ 6 กำหนดการ
วันที่ 2 สิงหาคม 2562

11.00 น. รายงานตัว เพื่อรับรหัสประจำตัวของหุ่นยนต์สำหรับการประกวด
11.30 น. เตรียมการ ทดสอบ ตกแต่งหุ่นยนต์ตลอดวัน

วันที่ 3 สิงหาคม 2560

10.00 น. รายงานตัว แล้วทำการทดสอบ ตกแต่งหุ่นยนต์ นำหุ่นยนต์มายังพื้นที่ประกวด กรรมการจะสังเกตการณ์และให้คะแนน
11.00 น. เริ่มการนำเสนอและแสดงการทำงานต่อกรรมการเป็นรายทีม ทีมละ 3 นาที
17.00 น. ประกาศผลการตัดสินและมอบรางวัล

ข้อที่ 7 หัวข้อของการประกวด
มี 1 หัวข้อคือ Robotics@Home

ข้อที่ 8 รูปแบบการนำเสนอ
8.1 ต้องแสดงให้เห็นการทำงานของหุ่นยนต์อย่างชัดเจน
8.2 ต้องแสดงให้เห็นว่า เป็นหุ่นยนต์ที่เกี่ยวข้องและ/หรือนำไปใช้ในที่อยู่อาศัยได้
8.3 กรรมการอาจสอบถามถึงขั้นตอนการสร้าง แนวคิดได้
8.4 การนำเสนอต้องกระชับ และไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงผู้สนับสนุนใดๆ

ข้อที่ 9 การตัดสิน
9.1 คณะกรรมการจะพิจารณาจากผลงาน ความคิดสร้างสรรค์ ความสอดคล้องกับหัวข้อการประกวด โดยไม่คำนึงถึงชนิด ยี่ห้อ และราคาของวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน
9.2 การทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำงานได้ตลอดระยะเวลาที่นำเสนอต่อคณะกรรมการมีผลต่อการตัดสิน
9.3 กรรมการจะพิจารณาองค์ประกอบด้านประสิทธิภาพ ความคิดสร้างสรรค์ ทัศนคติในเชิงบวก เป็นปัจจัยสำคัญ
9.4 ขนาดและจำนวนของหุ่นยนต์มีผลต่อการพิจารณาหากเป็นไปอย่างไม่สมเหตุ สมผล และฟุ่มเฟือย
9.5 ลำดับของการนำเสนอผลงานไม่มีผลต่อการพิจารณา
9.6 การตัดสินของกรรมการถือเป็นสิ้นสุด


รางวัลของการแข่งขัน
1. ของที่ระลึก
ทีมที่สมัครเข้าแข่งขันทุกทีม จะได้รับของที่ระลึกจากผู้จัดการแข่งขัน
2. รางวัลและสิทธิ์ในการแข่งขันหุ่นยนต์ World Robot Games 2019 (WRG 2019)
1. ผู้ชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท, เหรียญ, โล่รางวัล, เกียรติบัตรรับรองความสามารถ, สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขัน WRG 2019 รอบนานาชาติซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในนามทีมหุ่นยนต์ประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนค่าลงทะเบียนมูลค่า ทีมละ 21,000 บาท
2. รองชนะเลิศอันดับ 1 (1 ทีม) ได้รับเงินรางวัล 2,500 บาท, เหรียญ, โล่รางวัล, เกียรติบัตรรับรองความสามารถ และสิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขัน WRG 2019 รอบนานาชาติซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในนามทีมหุ่นยนต์ประเทศไทย
3. รองชนะเลิศอันดับ 2 (1 ทีม) ได้รับเงินรางวัล 1,500 บาท, เหรียญ, โล่รางวัล, เกียรติบัตรรับรองความสามารถ และสิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขัน WRG 2019 รอบนานาชาติซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในนามทีมหุ่นยนต์ประเทศไทย
4. รองชนะเลิศอันดับ 3 (3 ทีม) ได้รับเหรียญ, โล่รางวัล, เกียรติบัตร และสิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขัน WRG 2019 รอบนานาชาติซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในนามทีมหุ่นยนต์ประเทศไทย
5. รองชนะเลิศอันดับ 4 (4 ทีม) ได้รับเหรียญ, โล่รางวัล, เกียรติบัตร

ครูที่ปรึกษา/ผู้ควบคุมทีมของทีมที่ได้รางวัลจะได้รับเหรียญและเกียรติบัตรเช่นเดียวกับผู้แข่งขัน (ทีมละ 1 คน)

สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ WRG 2019 เป็นการให้สิทธิ์แก่สมาชิกทุกคนในทีม รวมถึงครูที่ปรึกษา ซึ่งสามารถลงทะเบียนเป็นผู้แข่งขันในรุ่น Open ได้ โดยทีมที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ถึง 3 จะได้รับการสนับสนุนค่าลงทะเบียนมูลค่าทีมละ 15,020 บาท คงเหลือค่าลงทะเบียนเพียงคนละ 2,990 บาท การรับหรือสละสิทธิ์เพื่อร่วมแข่งขัน WRG 2019 เป็นการพิจารณาโดยสมัครใจของผู้แข่งขันและผู้ฝึกสอน

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทะเบียนเข้าร่วมแข่งขันหุ่นยนต์ World Robot Games 2019 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ติดต่อได้ที่ บริษัท อินโนเวตีฟ เอ็กเพอริเมนต์ จำกัด (INEX) โทรศัพท์ 0-2747-7001-4 โทรสาร 0-2747-7005 อีเมล์ info@inex.co.th
หรือทางเว็บไซต์ http://wrgthailand.com
หรือติดตามผ่านทาง facebook ของ INEX ที่
https://www.facebook.com/innovativeexperiment