Line Tracing Robot Xtreme

หุ่นยนต์เคลื่อนที่ตามเส้นรุ่นเอ็กสตรีม

หมวดที่ 1 รุ่น/ผู้แข่งขัน
ข้อที่ 1
1.1 ทีมหุ่นยนต์มีสมาชิก 2 คน ต่อทีม
1.2 การแข่งขันมี 1 รุ่นคือ รุ่น Open สำหรับผู้แข่งขันอายุ 7 ถึง 99 ปี
1.3 ทุกทีมจะมีครู/อาจารย์ที่ปรึกษา/ผู้ควบคุมทีมหรือไม่ก็ได้ ถ้ามี จะมีได้ 1 คน (ดูแลพร้อมกันหลายทีมได้)
1.4 ผู้แข่งขันแต่ละคนลงแข่งขันได้เพียง 1 ทีม
1.5 การแข่งขันรายการนี้ มีค่าลงทะเบียนที่แตกต่างจากการแข่งขันในรายการอื่นๆ ของ World Robot Games Thailand Championship 2019 โปรดตรวจสอบในเว็บเพจของการลงทะเบียน

หมวดที่ 2 ข้อกำหนดของหุ่นยนต์
ข้อที่ 2 คุณสมบัติทางเทคนิค
2.1 ขนาดของหุ่นยนต์ต้องไม่เกิน 20 x 20 เซนติเมตร สูงไม่จำกัด และต้องใส่ลงในกล่องสี่เหลี่ยมขนาดภายใน 20 x 20 เซนติเมตรที่ทางกรรมการเตรียมไว้ได้ก่อนการแข่งขัน น้ำหนักไม่จำกัด
2.2 ใช้บอร์ดควบคุมแบบใดก็ได้ ใช้ตัวตรวจจับได้ไม่จำกัด
2.3 ใช้มอเตอร์ขับเคลื่อนได้ไม่จำกัดจำนวน และใช้แผงวงจรขับมอเตอร์ภายนอกได้
2.4 ล้อของหุ่นยนต์ใช้ได้อย่างไม่จำกัดจำนวนและชนิด
2.5 หุ่นยนต์สามารถแยกหรือขยายขนาดออกในขณะแข่งขัน แต่ต้องไม่มีการยิง ขว้าง หรือส่งชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์อื่นใดออกจากตัวหุ่นยนต์ในขณะทำการแข่งขัน มิเช่นนั้นจะปรับแพ้ในการแข่งขันนัดนั้นทันที
2.6 การยึดสกรูและนอตหรืออุปกรณ์ยึดตรึงใดๆ ในตัวหุ่นยนต์จะต้องกระทำอย่างแน่นหนา หากในระหว่างการแข่งขันมีชิ้นส่วนหลุด แตก หัก ลงในสนาม กรรมการจะนำออก และอนุญาตให้แข่งขันต่อไปได้ กรรมการไม่อาจรับผิดชอบต่อผลที่กระทบที่เกิดขึ้นในระหว่างที่นำชิ้นส่วนที่หลุดออกนอกสนาม
2.7 ไม่จำกัดคุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมหุ่นยนต์

ข้อที่ 3 สิ่งที่ต้องไม่กระทำในการสร้างหุ่นยนต์
3.1 ต้องไม่ใช้ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ใดๆ เมื่อติดตั้งแล้วสามารถสร้างความเสียหายแก่สนามแข่งขัน
3.2 ต้องไม่ใช้อุปกรณ์ใดที่เมื่อทำงานตามปกติแล้วทำให้เกิดเปลวไฟ หรือการลุกไหม้

หมวดที่ 3 สนามแข่งขัน
ข้อที่ 4 รูปแบบโดยรวม
มีรูปแบบตามรูปที่ 1 แบ่งออกเป็น 2 ฝั่งที่เหมือนกัน เพื่อให้รองรับการแข่งขันได้พร้อมกัน 2 ทีม

ข้อที่ 5 ข้อมูลส่วนประกอบของสนาม
5.1 ขนาดทั้งหมดของสนาม 2000 x 3000 มม. หรือ 2 x 3 เมตร
5.2 มีโซนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 2 โซนคือ โซนภารกิจบนพื้นราบกับโซนภารกิจตีลังกาและพิชิตเป้าคะแนน
5.3 โซนภารกิจบนพื้นราบ

5.3.1 จุดเริ่มต้นสำหรับไว้วางหุ่นก่อนเริ่มแข่งขันมีขนาดกว้าง 200 mm. ยาว 300mm โดยหุ่นยนต์จะต้องวางอยู่ในพื้นที่จุดสตาร์ทที่กำหนดเป็นพื้นสีดำ ห้ามส่วนหนึ่งส่วนใดของตัวหุ่นยนต์ยื่นออกมานอกกรอบสีดำที่กำหนดไว้
5.3.2 พื้นสนามสีขาว และมีเส้นนำทางสีดำขนาดกว้าง 20 mm

5.4 โซนภารกิจสะพานวงแหวน The Loop และพิชิตเป้าคะแนน

5.4.1 จุดเริ่มต้นสำหรับไว้วางหุ่นก่อนปล่อยตัวมีขนาดกว้าง 20 ซม. ยาว 30 ซม. โดยหุ่นยนต์จะต้องวางอยู่ในพื้นที่เริ่มต้นที่กำหนด
5.4.2 พื้นสนามสีขาวและมีเส้นนำทางสีดำขนาดกว้าง 20 มม. เป็นเส้นเต็มทั้งหมด
5.4.3 สะพานวงแหวนหรือ The loop มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1000 มม. มีเส้นสีดำกว้าง 20 มม. ไม่มีขอบสูงด้านข้าง
5.4.4 สำหรับเส้นทางของภารกิจทางเลือกจะเป็นพื้นสนามสีขาว มีเส้นสีดำกว้าง 20 มม. เป็นเส้นเต็มและเส้นประ และมีช่วงเส้นขาด
5.4.5 เป้าคะแนนเป็นโซนต่อเนื่องจากวงแหวนตีลังกาและเส้นทางภารกิจทางเลือก

5.4.5.1 หลังจากที่หุ่นยนต์ผ่านวงแหวนตีลังกาสำเร็จ จะมีจุดตัดเป็นเส้นสีดำ 3 เส้น เพื่อใช้เป็น จุดตั้งต้นให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปยังเป้าคะแนน ซึ่งระบุคะแนนไว้เป็นสัดส่วนคือ 10, 20, 30 และ 40 คะแนนตามลำดับ
5.4.5.2 เป้าคะแนนจะไม่เชื่อมต่อกับเส้นทางเลือก หากหุ่นยนต์เลือกทำการกิจทางเลือก เมื่อ มาถึงจุดสุดท้ายของภารกิจทางเลือก หุ่นยนต์ต้องเคลื่อนที่ผ่านช่องว่างมายังเป้าคะแนน เพื่อทำ คะแนนสุดท้าย

หมวดที่ 4 ภารกิจของการแข่งขัน
การแข่งขันแบ่งออกเป็น 3 ภารกิจหลัก 1 ภารกิจทางเลือก โดยทีมที่ได้คะแนนรวมสูงที่สุดหรือใช้เวลาน้อยที่สุดจะเป็นทีมชนะเลิศ โดยภารกิจทั้งหมดมีข้อมูลเบื้องต้นดังนี้

ข้อที่ 6 ภารกิจตรวจสอบเส้นทาง (ภารกิจหลัก)
หุ่นยนต์จะต้องเคลื่อนที่ไปตามเส้นนำทางสีดำบนพื้นราบไปยังจุดเปลี่ยนภารกิจที่ 1 (จุด A) จะได้ 10 คะแนน หากหลุดออกนอกเส้นจะต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่

ข้อที่ 7 ภารกิจหุ่นยนต์พิชิตสะพานวงแหวน (ภารกิจหลัก)
หุ่นยนต์จะต้องเคลื่อนที่ออกจากจุดเริ่มต้นภารกิจ (จุด A) ไปตามเส้นนำทางสีดำมีความกว้าง 20 มิลลิเมตร โดยมีทั้งส่วนที่อยู่บนพื้น ส่วนที่เป็นทางลาดชัน และส่วนของสะพานวงแหวนที่หุ่นยนต์ต้องตีลังกากลับหัว ถ้าหุ่นยนต์สามารถเคลื่อนที่ออกจากสะพานวงแหวนได้ ถือว่า ทำภารกิจสำเร็จ จะได้ 50 คะแนน จากนั้นเคลื่อนที่ตามเส้นนำทางสีดำเพื่อไปยังภารกิจในข้อ 5 เพื่อพิชิตเป้าคะแนน

ข้อที่ 8 ภารกิจเคลื่อนที่ตามเส้นทางเลือก (ภารกิจทางเลือก)
หากหุ่นยนต์ไม่ต้องการทำภารกิจในข้อ 3 หุ่นยนต์สามารถมาทำภารกิจในข้อนี้ได้ โดยต้องเคลื่อนที่ออกจากจุดเริ่มต้นภารกิจ (จุด A) ไปตามเส้นนำทางสีดำมีความกว้าง 20 มิลลิเมตร ไปจนเส้นทางขาดซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของภารกิจนี้ (จุด C) ก่อนเข้าสู่ภารกิจพิชิตเป้าคะแนนในข้อที่ 5 หากหุ่นยนต์เคลื่อนที่มาถึงเส้นทางขาดหรือจุด C ได้ จะได้ 10 คะแนน

ข้อที่ 9 ภารกิจพิชิตเป้าคะแนน (ภารกิจหลัก)
นี่คือภารกิจสุดท้าย หุ่นยนต์จะต้องเคลื่อนที่ไปยังบริเวณเป้าคะแนน ที่มีตัวเลข 10, 20, 30 และ 40 กำกับอยู่ หุ่นยนต์หยุดเคลื่อนที่ในพื้นที่ของตัวเลขใด ก็จะได้คะแนนของพื้นที่นั้นๆ โดยเกณฑ์ตัดสินคือ มีส่วนหนึ่งส่วนใดของหุ่นยนต์อยู่ในบริเวณพื้นที่ของตัวเลขคะแนน หากหุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปหยุดนอกพื้นที่เป้าคะแนน จะไม่ได้คะแนนในภารกิจนี้ และเมื่อหุ่นยนต์หยุดเคลื่อนที่ หรือหุ่นยนต์เคลื่อนที่ออกนอกพื้นที่เป้าคะแนน กรรมการจะหยุดเวลาการแข่งขันทันที เป็นการสิ้นสุดการแข่งขันในรอบนั้น และทำการบันทึกเวลาที่ใช้ในการแข่งขันของทีมนั้นๆ

ข้อที่ 10 วิธีการทำภารกิจ
10.1 หุ่นยนต์ต้องเริ่มต้นการทำภารกิจโดยเคลื่อนที่ออกจากจุดเริ่มต้น หลังจากได้รับสัญญาณจากกรรมการ
10.2 หุ่นยนต์ต้องทำภารกิจในข้อ 6 เป็นภารกิจแรก โดยห้ามเคลื่อนที่หลุดออกนอกเส้น หากทำได้จะได้ 10 คะแนน
10.3 เมื่อมาถึงจุด A เข้าสู่ภารกิจที่ 2 ผู้แข่งขันสามารถเลือกให้หุ่นยนต์ทำงานต่อเนื่องเพื่อทำภารกิจเคลื่อนที่ผ่านสะพานวงแหวน (ข้อที่ 7) หรือเคลื่อนที่ผ่านเส้นทางเลือก (ข้อที่ 8) แบบอัตโนมัติ

10.3.1 หากเลือกทำภารกิจเคลื่อนที่ผ่านสะพานวงแหวน ผู้แข่งขันสามารถดำเนินการได้ 2 วิธี และถ้าทำ ได้จะได้ 50 คะแนน

10.3.1.1 ให้หุ่นยนต์ทำการเคลื่อนที่ผ่านสะพานวงแหวนต่อเนื่องแบบอัตโนมัติ
10.3.1.2 ขอหยุดเพื่อเปลี่ยนโหมดการทำงานสำหรับทำภารกิจเคลื่อนที่ผ่านสะพานวงแหวน โดยเฉพาะ โดยไม่นับเป็นการรีไทร์หรือขอเริ่มต้นใหม่และเป็นการทำภารกิจไม่สำเร็จ โดย การเปลี่ยนโหมดต้องกระทำที่ตัวหุ่นยนต์ ห้ามดาวน์โหลด/อัปโหลดโค้ดใหม่ด้วย คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใดๆ

10.3.2 หากเลือกเคลื่อนที่ผ่านเส้นทางเลือก หุ่นยนต์ต้องเคลื่อนที่ต่อเนื่องไปอย่างอัตโนมัติเท่านั้น มิฉะนั้นจะถือว่า ทำภารกิจไม่สำเร็จ

10.4 เมื่อผ่านภารกิจที่ 2 หากผู้แข่งขันทำภารกิจเคลื่อนที่ผ่านสะพานวงแหวนแบบอัตโนมัติ จะสามารถเคลื่อนที่ต่อเนื่องไปตามเส้นทางที่นำไปสู่เป้าคะแนน หรือขอหยุดเพื่อปรับโหมดการทำงานสำหรับภารกิจต่อไปก็ได้ โดยไม่นับเป็นการรีไทร์หรือขอเริ่มต้นใหม่และเป็นการทำภารกิจไม่สำเร็จ โดยการเปลี่ยนโหมดต้องกระทำที่ตัวหุ่นยนต์ ห้ามดาวน์โหลด/อัปโหลดโค้ดใหม่ด้วยคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใดๆ
10.5 หากเลือกทำภารกิจที่ 2 โดยใช้เส้นทางเลือก (ข้อ 10.3.2) ผู้แข่งขันต้องทำการเคลี่อนที่ตามเส้นต่อเนื่องไปจนถึงจุดสิ้นสุดเส้นทางที่เป็นเส้นประ หรือจุด C จะได้ 20 คะแนน
10.6 จากข้อ 10.4 หุ่นยนต์จะต้องเคลื่อนที่ต่อเนื่องเพื่อเข้าสู่เป้าคะแนน และต้องหยุดภายในพื้นที่ของเป้าคะแนน หุ่นยนต์จะได้คะแนนสำหรับภารกิจสุดท้ายนี้ตามตำแหน่งที่หยุด ซึ่งมีตั้งแต่ 10, 20, 30 และ 40 คะแนน โดยพิจารณาจากส่วนใดส่วนหนึ่งของหุ่นยนต์ต้องอยู่ภายในพื้นที่นั้นๆ หากเลยไป การแข่งขันจะสิ้นสุดลง และไม่ได้คะแนนจากภารกิจสุดท้าย เมื่อหุ่นยนต์หยุดเคลื่อนที่ กรรมการหยุดจับเวลา และบันทึกเวลาที่ใช้ในการแข่งขันรอบนั้นๆ
10.7 จากข้อ 10.5 หุ่นยนต์จะต้องเคลื่อนที่ต่อเนื่องจากจุด C ข้ามช่องว่างเพื่อเข้าสู่เป้าคะแนน และต้องหยุดภายในพื้นที่ของเป้าคะแนน หุ่นยนต์จะได้คะแนนสำหรับภารกิจสุดท้ายนี้ตามตำแหน่งที่หยุด ซึ่งมีตั้งแต่ 10, 20, 30 และ 40 คะแนน โดยพิจารณาจากส่วนใดส่วนหนึ่งของหุ่นยนต์ต้องอยู่ภายในพื้นที่นั้นๆ หากเลยไป การแข่งขันจะสิ้นสุดลง และไม่ได้คะแนนจากภารกิจสุดท้าย เมื่อหุ่นยนต์หยุดเคลื่อนที่ กรรมการหยุดจับเวลา และบันทึกเวลาที่ใช้ในการแข่งขันรอบนั้นๆ
กติกาพิเศษ : รางวัลพิเศษสำหรับทีมที่สามารถทำภารกิจที่ 2 เคลื่อนที่ผ่านสะพานวงแหวนซึ่งเป็นเส้นทางที่ต้องเคลื่อนที่ในลักษณะตีลังกา ไม่ว่าจะเคลื่อนที่แบบต่อเนื่องอัตโนมัติตามข้อ 10.3.1.1 หรือแบบหยุดเพื่อเปลี่ยนโหมดการทำงานตามข้อ 10.3.1.2 จะมีเงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาท ให้กับทุกทีมที่ทำได้ไปจัดสรรร่วมกัน
หากทำได้เพียง 1 ทีม จะได้รับรางวัล 10,000 บาทเพียงทีมเดียว หากทำได้ 2 ทีม จะได้รับรางวัลทีมละ 5,000 บาท เป็นต้น

ข้อที่ 11 การจัดอันดับ
11.1 เมื่อทำภารกิจครบ จะนำคะแนนทั้งหมดมารวมกัน เป็นคะแนนที่ทำได้ในรอบนั้นๆ แล้วนำมาผลคะแนนที่ดีที่สุดมาจัดอันดับ
11.2 หากในการแข่งขันแต่ละรอบ ทำภารกิจไม่สำเร็จ ก็จะบันทึกคะแนนเท่าที่ทำได้ในรอบนั้นๆ เมื่อแข่งขันครบ 7 รอบ ก็จะเลือกคะแนนจากรอบที่ทำได้ดีที่สุดมาจัดอันดับ
11.3 หากคะแนนเท่ากัน จะพิจารณาจากการจำนวนของการทำภารกิจสำเร็จ ทีมที่ทำได้มากกว่า จะได้อันดับที่ดีกว่า
11.4 จากข้อ 11.3 หากเท่ากัน จะพิจารณาการทำภารกิจผ่านสะพานวงแหวน หากทีมใดทำได้ในแบบต่อเนื่อง จะได้อันดับที่ดีกว่า
11.5 จากข้อ 11.4 หากเท่ากัน จะพิจารณาที่เวลาที่ใช้ในการแข่งขัน ทีมที่ใช้เวลาน้อยกว่าจะได้อันดับที่ดีกว่า 3 นี่คือภารกิจสุดท้าย หุ่นยนต์จะต้องเคลื่อนที่ไปยังบริเวณเป้าคะแนน ที่มีตัวเลข 10, 20, 30 และ 40 กำกับอยู่ หุ่นยนต์หยุดเคลื่อนที่ในพื้นที่ของตัวเลขใด ก็จะได้คะแนนของพื้นที่นั้นๆ โดยเกณฑ์ตัดสินคือ มีส่วนหนึ่งส่วนใดของหุ่นยนต์อยู่ในบริเวณพื้นที่ของตัวเลขคะแนน หากหุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปหยุดนอกพื้นที่เป้าคะแนน จะไม่ได้คะแนนในภารกิจนี้ และเมื่อหุ่นยนต์หยุดเคลื่อนที่ หรือหุ่นยนต์เคลื่อนที่ออกนอกพื้นที่เป้าคะแนน กรรมการจะหยุดเวลาการแข่งขันทันที เป็นการสิ้นสุดการแข่งขันในรอบนั้น และทำการบันทึกเวลาที่ใช้ในการแข่งขันของทีมนั้นๆ

หมวดที่ 5 รูปแบบการแข่งขัน
ข้อที่ 12
12.1 แต่ละทีมมีโอกาสแข่งขัน 7 รอบภายในเวลา 4 ชั่วโมงที่เปิดให้แข่งขัน เพื่อเลือกคะแนนที่ดีที่สุดนำมาจัดลำดับ
12.2 ระบบการแข่งขันเป็นแบบจัดอันดับ โดยดูจากการคะแนนที่ทำได้และเวลาที่ใช้ในการทำภารกิจ
12.3 ทีมที่ได้อันดับ 7 ถึง 10 (รวมไม่เกิน 4 ทีม) จะได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 4
12.4 ทีมที่ได้อันดับ 4 ถึง 6 (รวมไม่เกิน 3 ทีม) จะได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3
12.5 ทีมที่ได้อันดับ 3 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
12.6 ทีมที่ได้อันดับ 2 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
12.7 ทีมที่ได้อันดับ 1 ได้รับรางวัลชนะเลิศ

หมวดที่ 6 การเริ่มต้น, หยุด, แข่งขันต่อ และจบการแข่งขัน
ข้อที่ 13 การเริ่มต้นแข่งขัน
13.1 เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผู้แข่งขันต้องมาพร้อมกันที่สนาม นำหุ่นยนต์วางบนจุดเริ่มต้น จะหันหุ่นยนต์ไปในทิศทางใดก็ได้ และต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนเลยจุดเริ่มต้น
13.2 เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผู้แข่งขันต้องเปิดสวิตช์ให้หุ่นยนต์เริ่มทำงาน เวลาจะถูกจับเมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของหุ่นยนต์พ้นจากจุดเริ่มต้น

ข้อที่ 14 การหยุดแข่งขัน
14.1 เมื่อหุ่นยนต์เคลื่อนที่หลุดออกจากเส้น ถือว่าทำภารกิจในรอบนั้นไม่สำเร็จ ต้องจบการแข่งขันทันที
14.2 หากผู้แข่งขันใช้มือจับหุ่นยนต์ จะถือว่า ผิดกติกา ยกเว้นเป็นการจับเพื่อเปลี่ยนโหมดการทำงานตามข้อที่ 10.3.1.2 และ 10.4 ถือว่าทำภารกิจในรอบนั้นไม่สำเร็จ ต้องจบการแข่งขันทันที
14.3 หากหุ่นยนต์หยุดเคลื่อนที่หรือไม่มีความคืบหน้าในการเคลี่อนที่ ถือว่าทำภารกิจในรอบนั้นไม่สำเร็จ ต้องจบการแข่งขันทันที
14.4 ไม่มีการขอเริ่มต้นใหม่หรือรีไทร์
14.5 เมื่อหยุดแข่งขันโดยยังทำภารกิจไม่ครบ จะบันทึกเวลาของการแข่งขันเป็น 3 นาที

ข้อที่ 15 การจบการแข่งขัน
การแข่งขันจะจบลงเมื่อ
15.1 หุ่นยนต์เคลื่อนที่มาถึงจุดสิ้นสุด (หยุดที่เป้าคะแนน) กรรมการหยุดจับเวลา บันทึกค่าเวลาล่าสุด
15.2 ผู้แข่งขันขอยุติการแข่งขันเอง กรรมการจะบันทึกเวลาเป็น 3 นาที
15.3 หุ่นยนต์ทำภารกิจไม่สำเร็จในทุกกรณี กรรมการจะบันทึกเวลาเป็น 3 นาที

หมวดที่ 7 การผิดกติกา
ข้อที่ 16
ถ้าผู้แข่งขันทำการละเมิดข้อกำหนดในข้อที่ 3, 17 และ 18 หรือข้อหนึ่งข้อใด จะถือว่า ทำผิดกติกา

ข้อที่ 17
ผู้แข่งขันที่กระทำการดูถูก เหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะโดยวาจาหรือการกระทำ หรือให้หุ่นยนต์ส่งเสียง, แสดงข้อความ หรือแสดงอากัปกริยาอันเป็นการดูถูก เหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม จะถูกปรับแพ้

ข้อที่ 18
หากผู้แข่งขันกระทำการดังต่อไปนี้ จะถือว่าผิดกติกาเช่นกัน
18.1 ต้องไม่ทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการทำงานของหุ่นยนต์ของคู่แข่งขัน เช่น การส่งแสงอินฟราเรดเข้าไปรบกวนการทำงานของโมดูลตรวจจับแสงอินฟราเรดของคู่แข่งขัน
18.2 เข้าไปในพื้นที่ของสนามในระหว่างการแข่งขันของทีมอื่น
18.3 โยนหรือนำชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ใดๆ เข้าไปในพื้นที่ของสนามในระหว่างการแข่งขันของทีมอื่น
18.4 กระทำการใดๆ ที่ทำให้การแข่งขันหยุดลงโดยไม่มีเหตุผลอันควร
18.5 กระทำการใดก็ตามที่ไม่สุภาพและทำให้เกิดการเสื่อมเสียต่อการแข่งขัน

หมวดที่ 8 บทลงโทษ
ข้อที่ 19
ผู้ที่กระทำผิดกติกาในข้อที่ 18 จะถูกปรับแพ้ให้ออกจากการแข่งขัน

ข้อที่ 20
หากเป็นผู้ควบคุมทีมกระทำผิด ทีมที่อยู่ภายใต้การดูแลทั้งหมด จะถูกปรับแพ้ให้ออกจากการแข่งขัน

หมวดที่ 9 ความเสียหายและอุบัติเหตุในการแข่งขัน
ข้อที่ 21 การขอหยุดการแข่งขัน
ผู้แข่งขันสามารถขอหยุดการแข่งขันได้ทุกกรณี กรรมการจะบันทึกเวลาเป็น 3 นาที

ข้อที่ 22 เวลาสำหรับการซ่อมหุ่นยนต์
ผู้แข่งขันสามารถซ่อมแซมหุ่นยนต์ได้ตลอดเวลาการแข่งขัน เพื่อให้สามารถกลับมาแข่งขันได้ให้ครบ 7 รอบ หรือจนกว่าเวลาจะหมดภายใน 4 ชั่วโมง (อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นก่อน)

หมวดที่ 10 การระบุหรือแสดงตัวของหุ่นยนต์
ข้อที่ 23
การระบุชื่อหรือหมายเลขของหุ่นยนต์ที่เข้าร่วมการแข่งขันต้องกระทำอย่างชัดเจน ง่ายต่อการเห็นและอ่านบนตัวถังของหุ่นยนต์ตลอดระยะเวลาของการแข่งขัน


รางวัลของการแข่งขัน
1. ของที่ระลึก
ทีมที่สมัครเข้าแข่งขันทุกทีม จะได้รับของที่ระลึกจากผู้จัดการแข่งขัน
2. รางวัลและสิทธิ์ในการแข่งขันหุ่นยนต์ World Robot Games 2019 (WRG 2019)
1. ผู้ชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 8,000 บาท, เหรียญ, โล่รางวัล, เกียรติบัตรรับรองความสามารถ, สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขัน WRG 2019 รอบนานาชาติซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในนามทีมหุ่นยนต์ประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนค่าลงทะเบียนมูลค่า ทีมละ 10,500 บาท
2. รองชนะเลิศอันดับ 1 (1 ทีม) ได้รับเงินรางวัล 4,000 บาท, เหรียญ, โล่รางวัล, เกียรติบัตรรับรองความสามารถ และสิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขัน WRG 2019 รอบนานาชาติซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในนามทีมหุ่นยนต์ประเทศไทย
3. รองชนะเลิศอันดับ 2 (1 ทีม) ได้รับเงินรางวัล 3,000 บาท, เหรียญ, โล่รางวัล, เกียรติบัตรรับรองความสามารถ และสิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขัน WRG 2019 รอบนานาชาติซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในนามทีมหุ่นยนต์ประเทศไทย
4. รองชนะเลิศอันดับ 3 (3 ทีม) ได้รับเหรียญ, โล่รางวัล, เกียรติบัตร และสิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขัน WRG 2019 รอบนานาชาติซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในนามทีมหุ่นยนต์ประเทศไทย
5. รองชนะเลิศอันดับ 4 (4 ทีม) ได้รับเหรียญ, โล่รางวัล, ประกาศณียบัตร

ครูที่ปรึกษา/ผู้ควบคุมทีมของทีมที่ได้รับรางวัลจะได้รับเหรียญรางวัลและเกียรติบัตรเช่นเดียวกับผู้แข่งขัน (ทีมละ 1 คน)

สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ WRG 2019 เป็นการให้สิทธิ์แก่สมาชิกทุกคนในทีม รวมถึงครูที่ปรึกษา ซึ่งสามารถลงทะเบียนเป็นผู้แข่งขันในรุ่น Open ได้ โดยทีมที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ถึง 3 จะได้รับการสนับสนุนค่าลงทะเบียนมูลค่าทีมละ 7,510 บาท คงเหลือค่าลงทะเบียนเพียงคนละ 2,990 บาท การรับหรือสละสิทธิ์เพื่อร่วมแข่งขัน WRG 2019 เป็นการพิจารณาโดยสมัครใจของผู้แข่งขันและผู้ฝึกสอน