Mini Search & Rescue Robot

หุ่นยนต์ค้นหาและกู้ภัยขนาดเล็ก

เป็นการแข่งขันการสร้างหุ่นยนต์เพื่อปฏิบัติภารกิจสมมติในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยหุ่นยนต์ต้องสามารถเคลื่อนที่ผ่านพื้นที่ที่มีอุปสรรคหลากหลาย และพาผู้ประสบภัยมายังพื้นที่ปลอดภัยได้
หมวดที่ 1 รุ่น/ผู้แข่งขัน
ข้อที่ 1
1.1 ทีมหุ่นยนต์มีสมาชิก 1 หรือ 2 คน
1.2 การแข่งขันมี 2 รุ่นคือ
1.2.1 รุ่น Junior สำหรับผู้แข่งขันอายุ 11 ถึง 14 ปี ต้องเกิดในปี พ.ศ. 2548 ถึง 2551
1.2.2 รุ่น Senior สำหรับผู้แข่งขันอายุ 15 ปี ถึง 19 ปี ต้องเกิดในปี พ.ศ. 2543 ถึง 2547
1.3 ทีมอาจมีครู/อาจารย์ที่ปรึกษาได้ ไม่เกิน 1 คน (สามารถเป็นที่ปรึกษาพร้อมกันหลายทีมได้)

หมวดที่ 2 รูปแบบสนามแข่งขัน
ข้อที่ 2
สนามแข่งขันมีภารกิจให้ทำ 4 อย่าง พื้นสนามมีลักษณะแตกต่างกันตามภารกิจที่ต้องกระทำ เป็นพื้นแห้ง อาจเรียบหรือขรุขระ เป็นได้ทั้งพื้นแข็งและนุ่ม

หมวดที่ 3 ข้อกำหนดของหุ่นยนต์
ข้อที่ 3 คุณสมบัติทางเทคนิค
3.1 ขนาดของหุ่นยนต์ก่อนเริ่มต้นแข่งขันต้องไม่เกิน 40 x 40 เซนติเมตร สูงไม่จำกัด ต้องวางในกรอบของพื้นที่ภายใน 40 x 40 เซนติเมตรที่ทางกรรมการเตรียมไว้ได้ก่อนการแข่งขัน
3.2 หุ่นยนต์สามารถขยายขนาดได้อย่างไม่จำกัดเมื่อเริ่มการแข่งขัน
3.3 น้ำหนักไม่เกิน 15 กิโลกรัม โดยไม่รวมรีโมตคอนโทรล
3.4 ในตอนเริ่มต้นแข่งขันออกจากจุดเริ่มต้น ต้องมีหุ่นยนต์เพียง 1 ตัว หลังจากออกจากกรอบเริ่มต้นแล้ว หุ่นยนต์สามารถแยกตัวเป็นกี่ตัวก็ได้
3.5 ใช้บอร์ดควบคุมรุ่นใดก็ได้ของ INEX ใช้ตัวตรวจจับได้ไม่จำกัด หุ่นยนต์ที่เข้าแข่งขันต้องมีการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับรีโมตคอนโทรลด้วย โดยไม่จำกัดรูปแบบของการติดต่อแบบไร้สาย ผู้แข่งขันต้องเตรียมการรับมือในกรณีอาจเกิดการรบกวนกันของคลื่นวิทยุหรือแสงอินฟราเรดในขณะฝึกซ้อมและแข่งขัน
3.6 ไม่จำกัดที่มาของชิ้นส่วนทางกลและอุปกรณ์ประกอบ
3.7 การยึดสกรูและนอตหรืออุปกรณ์ยึดตรึงใดๆ ในตัวหุ่นยนต์จะต้องกระทำอย่างแน่นหนา หากในระหว่างการแข่งขันมีชิ้นส่วนหลุด แตก หัก ลงในสนาม กรรมการจะไม่นำออก และอนุญาตให้แข่งขันต่อไปได้ กรรมการไม่อาจรับผิดชอบต่อผลที่กระทบที่เกิดขึ้นในระหว่างที่นำชิ้นส่วนที่หลุดออกนอกสนาม
3.8 ไม่จำกัดคุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมหุ่นยนต์
3.9 แรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายไฟของหุ่นยนต์รวมทั้งหมดต้องไม่เกิน 48V
3.10 ไม่จำกัดชนิดและจำนวนมอเตอร์ที่ใช้

ข้อที่ 4 สิ่งที่ต้องไม่กระทำในการสร้างหุ่นยนต์
ต้องไม่ใช้ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ใดๆ เมื่อติดตั้งแล้วสามารถสร้างความเสียหายแก่สนามแข่งขันในทุกกรณี

หมวดที่ 4 ภารกิจการแข่งขัน
การแข่งขันนี้มีภารกิจทั้งสิ้น 4 ด่าน หุ่นยนต์ต้องพยายามทำให้ครบ ภายในเวลา 10 นาที (อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามจำนวนทีมที่แข่งขัน) แต่ละภารกิจมีคะแนนสะสมไม่เท่ากัน ผู้แข่งขันสามารถข้ามภารกิจได้โดยได้รับคะแนนตามที่กำหนดหรือไม่ได้คะแนน (โดยสามารถทำภารกิจใดก่อนก็ได้)

เนื่องจากมีทีมสมัครลงทะเบียนเข้ามามาก แต่ละทีมจะมีโอกาสแข่ง 2 ครั้ง แต่ละครั้งมีเวลาให้ 5 นาที จากนั้นนำคะแนนที่ทำได้จากการแข่งขัน 2 ครั้ง มารวมกัน แล้วจัดอันดับ ทีมที่มีคะแนนดีที่สุด 3 ทีม ได้เข้ารอบชิงชนะเลิศ ทีมอันดับที่มีคะแนนรองลงไป 3 ทีมต่อมาได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 และทีมที่มีคะแนนรองลงไปอีก 4 ทีมได้รางวัลรองชนะลิศอันดับ 4 ร่วมกัน รวมมีทีมได้รางวัล 10 ทีม

ข้อ 5 ด่านที่ 1 – ผ่านช่องลาดเอียง (10 คะแนน)
5.1 เป็นช่องที่มีกำแพงเป็นชิ้นส่วนลาดเอียง 45 องศา จำนวน 8 ชิ้น แบ่งเป็น 2 ด้าน ด้านละ 4 ชิ้น
5.2 มีขนาดของชิ้นส่วนและตำแหน่งการติดตั้งแสดงตามรูปที่ 1
5.3 กำแพงลาดเอียงทำจากวัสดุแข็ง และติดตั้งเข้ากับพื้นสนามอย่างแข็งแรงพอสมควร
5.4 หุ่นยนต์ต้องเคลื่อนที่ผ่านช่องลาดเอียง โดยไม่หงายท้อง
5.5 เมื่อพ้นช่องลาดเอียง หุ่นยนต์ต้องตั้งลำตัวตรงและเคลื่อนที่ต่อไปได้ จึงจะถือว่า ทำภารกิจสำเร็จ
5.6 หากสนามเกิดความเสียหายในระหว่างการทำภารกิจ จะถือว่า ความเสียหายนั้นเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจที่หุ่นยนต์ต้องเคลื่อนที่ผ่านไปให้ได้
5.7 หากหุ่นยนต์เคลื่อนที่ติดขัดไม่สามารถผ่านอุปสรรคในสนามได้ จะต้องขอเริ่มต้นใหม่หรือรีไทร์ โดยผู้แข่งขันต้องนำหุ่นยนต์กลับไปเริ่มต้นการทำภารกิจที่ทางเข้าของช่องลาดเอียง
5.8 ผู้แข่งขันสามารถเริ่มต้นใหม่ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
5.9 ผู้แข่งขันสามารถขอข้ามภารกิจนี้ได้ และกลับมาแข่งขันใหม่ได้ หากเวลายังไม่หมด


รูปที่ 1 ตัวอย่างและขนาดของช่องลาดเอียง

ข้อ 6 ด่านที่ 2 – เก็บซากปรักหักพัง (20 คะแนน)


รูปที่ 2 ตัวอย่างและขนาดของพื้นที่ด่านที่สอง

6.1 เป็นภารกิจสมมติ ให้ลูกปิงปองเป็นซากปรักหักพัง หุ่นยนต์ต้องทำการขนย้ายไปยังพื้นที่เป้าหมาย
6.2 มีลูกปิงปอง 10 ใบ
6.3 มีท่อสามเหลี่ยมซึ่งสมมติให้เป็นที่เก็บซากหักพัง (ในที่นี้คือ ลูกปิงปอง) 2 ชิ้น มีลักษณะและขนาดตามในรูปที่ 3


รูปที่ 3 ท่อสามเหลี่ยมสำหรับเก็บลูกปิงปอง

6.4 หุ่นยนต์ต้องขนย้ายลูกปิงปองไปเก็บในช่องสามเหลี่ยมให้มากที่สุด โดยจะได้ลูกละ 2 คะแนน
6.5 หากสนามเกิดความเสียหายในระหว่างการทำภารกิจ จะถือว่า ความเสียหายนั้นเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจที่หุ่นยนต์ต้องเคลื่อนที่ผ่านไปให้ได้
6.6 หากหุ่นยนต์เคลื่อนที่ติดขัดไม่สามารถผ่านอุปสรรคในสนามได้ จะต้องขอเริ่มต้นใหม่หรือรีไทร์ โดยผู้แข่งขันต้องนำหุ่นยนต์กลับไปเริ่มต้นการทำภารกิจที่ทางเข้าของลานปรักหักพัง
6.7 ผู้แข่งขันสามารถเริ่มต้นใหม่ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
6.8 ผู้แข่งขันสามารถขอข้ามภารกิจนี้ได้ และกลับมาแข่งขันใหม่ได้ หากเวลายังไม่หมด

ข้อ 7 ด่านที่ 3 – ผ่านทางลูกกลิ้ง (10 คะแนน)
7.1 ด่านนี้กำหนดให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ผ่านอุปสรรคที่เป็นทางลูกกลิ้งตามรูปที่ 4 (ลูกกลิ้งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 75 ถึง 80 มิลิเมตร)

รูปที่ 4 ลักษณะของเส้นทางลูกกลิ้ง

7.2 หุ่นยนต์ต้องเคลื่อนที่ผ่านทางเส้นทางนี้ โดยไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของหุ่นยนต์สัมผัสพื้นสนามที่อยู่นอกเส้นทาง
7.3 หากเคลื่อนผ่านได้ จะได้ 10 คะแนน
7.4 หากสนามเกิดความเสียหายในระหว่างการทำภารกิจ จะถือว่า ความเสียหายนั้นเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจที่หุ่นยนต์ต้องเคลื่อนที่ผ่านไปให้ได้
7.5 หากหุ่นยนต์เคลื่อนที่ติดขัดไม่สามารถผ่านอุปสรรคในสนามได้ จะต้องขอเริ่มต้นใหม่หรือรีไทร์ โดยผู้แข่งขันต้องนำหุ่นยนต์กลับไปเริ่มต้นการทำภารกิจที่ทางเข้าของลานปรักหักพัง
7.6 ผู้แข่งขันสามารถเริ่มต้นใหม่ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
7.7 ผู้แข่งขันสามารถขอข้ามภารกิจนี้ได้ และกลับมาแข่งขันใหม่ได้ หากเวลายังไม่หมด

ข้อ 8 ด่านที่ 4 – เคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย (20 คะแนน)
8.1 ด่านนี้เป็นสถานการณ์สมมติที่กำหนดให้หุ่นยนต์ทำการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยไปยังจุดเริ่มต้นของสนามแข่งขัน โดยในที่นี้ใช้ตุ้มน้ำหนักหรือวัตถุอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงแทนผู้ประสบภัย ตามรูปที่ 5


รูปที่ 5 ลักษณะของตุ้มน้ำหนัก 100 กรัมที่ใช้แทนผู้ประสบภัย

8.2 มีตุ้มน้ำหนักให้เคลื่อนย้าย 5 ตัว น้ำหนักตัวละไม่เกิน 100 กรัม
8.3 แท่นวางตุ้มน้ำหนักมีขนาดดังรูปที่ 6


รูปที่ 6 ลักษณะการวางตุ้มน้ำหนักบนแท่นวางและขนาดของแท่นวาง

8.4 หุ่นยนต์ต้องเคลื่อนย้ายตุ้มน้ำหนักไปวางที่จุดเริ่มต้นให้ครบ โดยไม่ตกลงบนพื้นสนาม หากเคลื่อนย้ายสำเร็จจะได้ตุ้มน้ำหนักละ 4 คะแนน
8.5 หุ่นยนต์สามารถขนย้ายตุ้มตน้ำหนักได้ครั้งละ 1 ตัว
8.6 หากตุ้มน้ำหนักตกพื้นก่อนถึงจุดเริ่มต้นของสนาม จะต้องถูกย้ายกลับมาวางที่จุดเริ่มต้นเดิม
8.7 เมื่อวางตุ้มน้ำหนักได้แล้ว จะถือว่าได้คะแนนทันที แม้ว่าในภายหลังตุ้มน้ำหนักจะล้มหรือหลุดออกจากพื้นที่ของจุดเริ่มต้นด้วยสาเหตุใดก็ตาม
8.8 หากสนามเกิดความเสียหายในระหว่างการทำภารกิจ จะถือว่า ความเสียหายนั้นเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจที่หุ่นยนต์ต้องเคลื่อนที่ผ่านไปให้ได้
8.9 หากหุ่นยนต์เคลื่อนที่ติดขัดไม่สามารถผ่านอุปสรรคในสนามได้ จะต้องขอเริ่มต้นใหม่หรือรีไทร์ โดยผู้แข่งขันต้องนำหุ่นยนต์กลับไปเริ่มต้นการทำภารกิจที่ทางเข้าของโซนผู้ประสบภัย
8.10 ภารกิจในด่านนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อ
8.10.1 ตุ้มน้ำหนักทั้ง 5 ตัวบได้รับการขนย้ายไปวางที่จุดเริ่มต้นอย่างสมบูรณ์
8.10.2 หมดเวลาการแข่งขัน
8.10.3 มีการทำผิดกติกาตามข้อที่ 12.2
8.11 ภารกิจในด่านนี้ไม่สามารถเริ่มต้นใหม่ (retry) ได้

ข้อ 9 การตัดสิน
9.1 หากเป็นการแข่งขันในรอบแรก คะแนนและเวลาที่ทำได้จะถูกบันทึกและสะสมไว้ แต่ละทีมจะมีโอกาสได้แข่งขันอย่างน้อย 2 ครั้ง นำคะแนนมารวมกัน เพื่อจัดอันดับ ทีมที่มีคะแนนสูงสุด 3 ทีมจะเข้ารอบชิงชนะเลิศ
9.2 ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ทีมที่ได้คะแนนรวมมากกว่าจะเป็นผู้ชนะ
9.3 จากข้อ 9.2 หากคะแนนเท่ากันทีมที่ใช้เวลาน้อยกว่า จะเป็นผู้ชนะ

หมวดที่ 5 รูปแบบการแข่งขัน
ข้อที่ 10 การจัดแข่งขัน
10.1 แต่ละทีมมีโอกาสแข่งขันอย่างน้อย 2 ครั้งในรอบแรก
10.2 ระบบการแข่งขันในรอบแรกเป็นระบบจัดอันดับ โดยดูจากคะแนนรวม หากเท่ากัน จะดูจากจำนวนภารกิจที่ทำคะแนนได้ ทีมที่ทำได้มากกว่า จะได้อันดับที่ดีกว่า หากยังเท่ากัน จะพิจารณาเวลารวม ทีมที่ใช้เวลาน้อยกว่ารวมน้อยกว่า จะได้อันดับที่ดีกว่า ทีมที่มีคะแนนสูงสุด 3 อันดับแรก จะเข้ารอบชิงชนะเลิศ
10.3 ทีมที่ได้คะแนนในอันดับที่ 7 ถึง 10 จะได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 4
10.4 ทีมที่ได้คะแนนในอันดับที่ 4 ถึง 6 จะได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3
10.5 การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ หุ่นยนต์ทีมใดทำคะแนนมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะเลิศ ทีมอันดับ 2 ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และทีมอันดับ 3 ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2

หมวดที่ 6 การเริ่มต้น, หยุด, แข่งขันต่อ และจบการแข่งขัน
ข้อที่ 11 การเริ่มต้นแข่งขัน
11.1 เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผู้แข่งขันต้องมาพร้อมกันที่สนาม นำหุ่นยนต์วางบนจุดเริ่มต้น จะหันหุ่นยนต์ไปในทิศทางใดก็ได้ และต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนเลยจุดเริ่มต้น
11.2 เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผู้แข่งขันต้องบังคับหรือเปิดสวิตช์ให้หุ่นยนต์เริ่มทำงาน
11.3 เวลาสำหรับการแข่งขันต่อนัดคือ 7 นาที (อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามจำนวนทีมที่เข้าแข่งขัน)

ข้อที่ 12 การหยุดและแข่งต่อ
12.1 เมื่อหุ่นยนต์ทำภารกิจต่างๆ แล้วเกิดปัญหาไม่สามารถเคลื่อนที่ หรือทำภารกิจต่อไปได้ ผู้แข่งขันจะถูกบังคับให้หยุดแข่งขันชั่วคราว เพื่อเริ่มต้นใหม่ หรือยุติการแข่งขันเฉพาะหุ่นยนต์ตัวนั้นๆ ขึ้นอยู่กับภารกิจในขณะนั้น
12.2 หากผู้แข่งขันใช้มือจับหุ่นยนต์ จะต้องเริ่มต้นแข่งขันใหม่ในด่านนั้นๆ ใหม่ คะแนนจะถูกล้างเป็นศูนย์ในด่านนั้นๆ แต่ถ้าเป็นด้านที่ห้ามเริ่มต้นใหม่ กรรมการจะให้หุ่นยนต์ตัวนั้นๆ ยุติการแข่งขัน

ข้อที่ 13 การจบการแข่งขัน
13.1 หุ่นยนต์ทำภารกิจครบทั้งหมด ก่อนหมดเวลาการแข่งขัน
13.2 หมดเวลาการแข่งขัน
13.3 ถูกสั่งให้ยุติการแข่งขัน
13.4 ผู้แข่งขันขอยุติการแข่งขันเองได้ โดยกรรมการจะปรับเวลาเป็นค่าเต็มเวลา และบันทึกคะแนนที่ทำได้

หมวดที่ 7 การผิดกติกา
ข้อที่ 14
ถ้าผู้แข่งขันทำการละเมิดข้อกำหนดในข้อที่ 4, 15 และ 16 หรือข้อหนึ่งข้อใด จะถือว่า ทำผิดกติกา

ข้อที่ 15
ผู้แข่งขันที่กระทำการดูถูก เหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะโดยวาจาหรือการกระทำ หรือให้หุ่นยนต์ส่งเสียง, แสดงข้อความ หรือแสดงอากัปกริยาอันเป็นการดูถูก เหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม จะถูกปรับแพ้

ข้อที่ 16
หากผู้แข่งขันกระทำการดังต่อไปนี้ จะถือว่าผิดกติกาเช่นกัน
16.1 กระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการทำงานของหุ่นยนต์ของคู่แข่งขัน
16.2 เข้าไปในพื้นที่สนามของคู่แข่งขัน
16.3 โยนหรือนำชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ใดๆ เข้าไปในพื้นที่สนามของคู่แข่งขัน
16.4 กระทำการใดๆ ที่ทำให้การแข่งขันหยุดลงโดยไม่มีเหตุผลอันควร
16.5 กระทำการใดก็ตามที่ไม่สุภาพและทำให้เกิดการเสื่อมเสียต่อการแข่งขัน

หมวดที่ 8 บทลงโทษ
ข้อที่ 17
ผู้ที่กระทำผิดกติกาในข้อที่ 15 จะถูกให้ยุติการแข่งขันในทันที หากทำผิดซ้ำ จะถูกให้ออกจากการแข่งขัน

ข้อที่ 18
หากเป็นผู้ควบคุมทีมกระทำผิด ทีมที่อยู่ภายใต้การดูแลทั้งหมด จะถูกปรับแพ้ให้ออกจากการแข่งขัน

หมวดที่ 9 ความเสียหายและอุบัติเหตุในการแข่งขัน
ข้อที่ 19 เวลาสำหรับการซ่อมหุ่นยนต์
19.1 ผู้แข่งขันสามารถซ่อมแซมหุ่นยนต์ได้ตลอดเวลาการแข่งขัน โดยการจับเวลายังคงดำเนินต่อไป
19.2 ต้องซ่อมที่บริเวณสนามแข่งขันเท่านั้น และต้องไม่กีดขวางการแข่งขันของคู่แข่งขัน


รางวัลของการแข่งขัน
1. ของที่ระลึก
ทีมที่สมัครเข้าแข่งขันทุกทีม จะได้รับของที่ระลึกจากผู้จัดการแข่งขัน
2. รางวัลและสิทธิ์ในการแข่งขันหุ่นยนต์ World Robot Games 2019 (WRG 2019)

1. ผู้ชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 7,000 บาท, เหรียญ, โล่รางวัล, เกียรติบัตรรับรองความสามารถ, สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขัน WRG 2019 รอบนานาชาติซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในนามทีมหุ่นยนต์ประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนค่าลงทะเบียนมูลค่า ทีมละ 21,000 บาท
2. รองชนะเลิศอันดับ 1 (1 ทีม) ได้รับเงินรางวัล 3,500 บาท, เหรียญ, โล่รางวัล, เกียรติบัตรรับรองความสามารถ และสิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขัน WRG 2019 รอบนานาชาติซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในนามทีมหุ่นยนต์ประเทศไทย
3. รองชนะเลิศอันดับ 2 (1 ทีม) ได้รับเงินรางวัล 2,500 บาท, เหรียญ, โล่รางวัล, เกียรติบัตรรับรองความสามารถ และสิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขัน WRG 2019 รอบนานาชาติซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในนามทีมหุ่นยนต์ประเทศไทย
4. รองชนะเลิศอันดับ 3 (3 ทีม) ได้รับเหรียญ, โล่รางวัล, เกียรติบัตร และสิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขัน WRG 2019 รอบนานาชาติซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในนามทีมหุ่นยนต์ประเทศไทย
5. รองชนะเลิศอันดับ 4 (4 ทีม) ได้รับเหรียญ, โล่รางวัล, เกียรติบัตร

ครูที่ปรึกษา/ผู้ควบคุมทีมของทีมที่ได้รางวัลจะได้รับเหรียญและเกียรติบัตรเช่นเดียวกับผู้แข่งขัน (ทีมละ 1 คน)

สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ WRG 2019 เป็นการให้สิทธิ์แก่สมาชิกทุกคนในทีม รวมถึงครูที่ปรึกษา ซึ่งสามารถลงทะเบียนเป็นผู้แข่งขันในรุ่น Open ได้ โดยทีมที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ถึง 3 จะได้รับการสนับสนุนค่าลงทะเบียนมูลค่าทีมละ 15,020 บาท คงเหลือค่าลงทะเบียนเพียงคนละ 2,990 บาท การรับหรือสละสิทธิ์เพื่อร่วมแข่งขัน WRG 2019 เป็นการพิจารณาโดยสมัครใจของผู้แข่งขันและผู้ฝึกสอน

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทะเบียนเข้าร่วมแข่งขันหุ่นยนต์ World Robot Games 2019 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ติดต่อได้ที่ บริษัท อินโนเวตีฟ เอ็กเพอริเมนต์ จำกัด (INEX) โทรศัพท์ 0-2747-7001-4 โทรสาร 0-2747-7005 อีเมล์ info@inex.co.th
หรือทางเว็บไซต์ http://wrgthailand.com
หรือติดตามผ่านทาง facebook ของ INEX ที่
https://www.facebook.com/innovativeexperiment